ซื้อ-ขายรถต้องรู้! เปิดขั้นตอนการโอนรถมือสอง มีครบ ผ่านชัวร์

สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการเช็ครถที่ดูสภาพดีแล้ว การซื้อรถมือสองเพื่อให้ได้ครอบครองรถในชื่อของตัวเองนั้นก็อยู่ที่ขั้นตอนการโอนรถนี่ล่ะค่ะ เพราะหากปราศจากการโอนรถอย่างถูกต้อง อาจจะเกิดปัญหากรรมสิทธิ์ตามมาภายหลังได้ วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการโอนรถมือสองมากฝากกัน ว่ามีวิธีการอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมถึงมีอะไรที่เราควรต้องรู้หากคิดจะโอนรถมือสอง

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการโอนรถมือสอง

หากใครคิดจะไปโอนรถมือสองแล้วล่ะก็ สิ่งที่สำคัญที่จะขาดไม่ได้เลย นั่นคือเอกสาร คุณจะต้องเตรียมไปให้ครบ เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งเอกสารที่ใช้มีดังนี้

  1. หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ใบ พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ อย่าลืมระบุให้ชัดเจนด้วยว่าเอกสารนี้ใช้โอนกรรมสิทธิ์รถรุ่นใด ป้ายทะเบียนอะไร สีอะไร เพื่อป้องกันการนำไปสวมรอยหรือปลอมแปลง
  2. หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย
  3. เล่มทะเบียนรถตัวจริง

แต่ในกรณีที่เจ้าของรถเสียชีวิตไปแล้ว หรือไม่สามารถไปดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ก็จะมีรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่

  1. สำเนาใบมรณบัตร (กรณีเจ้าของรถเสียชีวิต)
  2. คำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา (กรณีโอนรับมรดก)
  3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอง (กรณีผู้โอนหรือผู้รับโอนมิได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง)

*สำหรับการโอนรถยนต์นี้ ผู้โอนและผู้รับโอนรถยนต์จะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับจากวันที่ โอนรถยนต์กันจริง หรือวันที่ซื้อขายกัน หากไม่แจ้งนายทะเบียนตามที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมด้วย

ค่าใช้จ่ายในการโอนรถมือสอง

นอกจากเอกสารที่ต้องใช้แล้ว โดยในการโอนรถแต่ละครั้งยังมีค่าธรรมเนียมจำนวน 1,905 บาท เราสามารถนำเงินไปเผื่อ ๆ ก็ได้ค่ะ ซึ่งแยกรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าคำขอ 5 บาท
  2. ค่าอากรแสตมป์ 500 บาทต่อราคาประเมินรถทุก 100,000 บาท
  3. ค่าธรรมเนียมโอนรถยนต์ 100 บาท
  4. ค่าอากรแสตมป์ก็จะเท่ากับ 1,000 บาท
  5. ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (หากจะเปลี่ยน)
  6. ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 200 บาท (กรณีเล่มทะเบียนขาด เก่า หรือ ชำรุด)

ขั้นตอนในการโอนรถมือสอง

เมื่อเตรียมเอกสารทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปจะเป็นขั้นตอนในการโอนรถ ซึ่งคุณสามารถไปติดต่อดำเนินเรื่องที่สำนักงานกรมขนส่งใกล้บ้าน ตรวจสอบพื้นที่ให้บริการได้ตามลิงก์นี้ > สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร แต่สำหรับใครที่อยู่ต่างจังหวัด สามารถไปโอนที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้น ๆ โดยสามารถทำตามดังขั้นตอนต่อไปนี้

  1. กรอกแบบฟอร์มคำขอรับการโอนรถที่ส่วนงานทะเบียนของสำนักงานขนส่ง
  2. นำรถเพื่อเข้ารับการตรวจสอบที่งานตรวจสภาพรถยนต์ (ยกเว้นกรณีโอนปิดบัญชีจากผู้ให้เช่าซื้อไปยังผู้เช่าซื้อ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถตามรายการจดทะเบียน ไม่ต้องตรวจสอบรถ)
  3. ยื่นเรื่องโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าธรรมเนียมที่งานทะเบียนรถ
  4. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
  5. รับใบเสร็จรับเงิน พร้อมใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ

รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์มือสองสามารถใช้วิธีการโอนเดียวกันได้หรือไม่

หลายคนอาจจะตั้งคำถามนี้อยู่ในใจว่า เอกสารและขั้นตอนการโอนดังกล่าวข้างต้นนี้สามารถทำได้กับรถมอเตอร์ไซค์มือสองด้วยไหม คำตอบก็คือ มีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกันเลยค่ะ ต่างกันแค่การโอนรถมอเตอร์ไซค์มือสองนั้นจะมีการตรวจสภาพก่อน จึงจะไปกรอกแบบฟอร์มคำขอรับการโอนรถ

สำหรับใครที่ต้องการจะโอนรถยนต์มือสอง อย่าลืมศึกษารายละเอียดข้างต้นให้พร้อมเพื่อประโยชน์ของตัวคุณเองนะคะ แต่หากมีข้อสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูที่ กรมการขนส่งทางบก ได้เลยค่ะ
Total
0
Shares
โพสต์ก่อนหน้า

เช็คให้ดี ความสำคัญของไส้กรองอากาศในรถยนต์ เมื่อไหร่ถึงจะควรเปลี่ยน

โพสต์ถัดไป

เติมผิดชีวิตเปลี่ยน! เช็คให้ดี น้ำมันชนิดไหนเหมาะกับรถของเรา

บทความที่เกี่ยวข้อง

บัตรทางด่วน Easy Pass และ M-Pass ต่างกันอย่างไร เลือกใช้แบบไหนถึงเหมาะกับคุณ

สำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน เชื่อว่าน่าจะคุ้นเคยกับชื่อบัตรทางด่วน Easy Pass และ M-Pass เป็นอย่างดี แต่อดสงสัยไม่ได้ว่าทั้ง 2 บัตรนี้ นอกจากชื่อเรียกแตกต่างกันแล้วยังมีอะไรแตกต่างกันอีกบ้าง
Avatar
อ่านต่อ

ไขข้อสงสัย ค่าเลขน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์คืออะไร เลือกแบบไหนถึงจะคุ้มกว่ากัน

ทุกวันนี้เวลาแวะเข้าปั๊ม หรือผ่านปั๊มน้ำมัน เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าค่าตัวเลขหลังชื่อน้ำมันคืออะไรกัน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร ถ้าไม่นับรวมแค่เรื่องของราคา เราอาจจะรู้แค่ว่ารถของเราเติมตัวนี้ แล้วตัวอื่น ๆ คืออะไรกันค่ะ ขึ้นชื่อว่าน้ำมันเชื้อเพลิงก็ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลักของรถยนต์ ที่ใช้ในการขับเคลื่อน โดยเกิดจากการเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งในบ้านเราแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และ น้ำมันดีเซล
Avatar
อ่านต่อ

เช็กก่อนเสียบ ชาร์จมือถือในรถ ทำให้แบตเตอรี่รถเสื่อมไวจริงหรือ

แม้การชาร์จในรถจะทำได้ เป็นพฤติกรรมคุ้นเคยที่เห็นกันอย่างชินตา แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าการชาร์จแบตเตอรี่ในรถ จะส่งผลให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมไวจริงหรือไม่
Avatar
อ่านต่อ
Total
0
Share